Bangkok,
09
สิงหาคม
2018
|
12:46
Europe/Amsterdam

เทรนด์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนประจำปี 2018

งานวิจัยจาก Booking.com เผยว่าผู้คนหันมาให้ความสนใจตัวเลือกที่พักซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากจำนวนผู้เดินทางที่จองที่พักประเภทดังกล่าวมากกว่าที่ผ่านมา และในขณะเดียวกันก็พร้อมยอมจ่ายเพิ่มขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่าทริปของพวกเขาเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

อัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ – 18 เมษายน 2561 - เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของวันคุ้มครองโลก (Earth Day) ซึ่งตรงกับวันที่ 22 เมษายน Booking.com ผู้นำระดับโลกที่เชื่อมโยงผู้เดินทางกับตัวเลือกที่พักน่าทึ่งหลากหลาย ประเภทเผยผลจากงานวิจัยล่าสุดเกี่ยวกับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน*

งานวิจัยชี้ว่าเทรนด์การท่องเที่ยวแบบเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนั้นยังได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง โดยผู้เดินทาง ทั่วโลกส่วนใหญ่ (ร้อยละ 87) กล่าวว่าพวกเขาต้องการให้ทริปเป็นไปตามแนวทางการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และผู้เดินทางเกือบ 4 ใน 10 (ร้อยละ 39) ยืนยันว่าพวกเขาทำเช่นนั้นอยู่บ่อย ๆ หรือเป็นประจำอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ผู้เดินทางอีกร้อยละ 48 กล่าวว่าตนใช้แนวคิดนี้เพียงไม่กี่ครั้ง น้อยครั้ง หรือไม่เคยเลย ดังนั้นแม้เทรนด์การท่องเที่ยว แบบเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจะเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น แต่ก็ยังมีพื้นที่ให้ผู้เดินทางหน้าใหม่มาเข้าร่วมอยู่เสมอ

การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเริ่มต้นจากที่พักที่คุณเลือก

“การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน” มีนิยามแตกต่างไปตามตัวบุคคล อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้เดินทางเกือบครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 46) “การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน” หมายถึงการเข้าพักในที่พักที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือที่พักแนวทางสีเขียว แนวคิดนี้ ถือเป็นสิ่งแรกที่ผู้คนนึกถึงเมื่อได้ยินคำนี้ ส่วนเหตุผลยอดนิยมที่ผู้เดินทางเลือกที่พักซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนั้น ก็เพื่อช่วยลดผลกระทบจากทริปของพวกเขาที่มีต่อสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ 40) บ้างก็ต้องการสัมผัสประสบการณ์ท้องถิ่น (ร้อยละ 34) และบางส่วนก็ต้องการจะรู้สึกดีกับตัวเลือกที่พักที่ตนเลือก (ร้อยละ 33)**

ในปี ค.ศ. 2018 ผู้เดินทางกว่า 2 ใน 3 (ร้อยละ 68) วางแผนจะพักในที่พักซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 65 ในปี ค.ศ. 2017 และร้อยละ 62 ในปีค.ศ. 2016 นอกจากนี้ สัดส่วนของผู้เดินทางที่ไม่สนใจที่พักซึ่งเป็น มิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะไม่ทราบว่ามีที่พักประเภทนี้อยู่นั้นก็ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยปีนี้เหลือเพียงร้อยละ 31 (เทียบกับร้อยละ 39 และร้อยละ 38 ในปี ค.ศ. 2017 และ 2016 ตามลำดับ***)

แรงบันดาลใจที่จะช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม

เมื่อพูดถึงสิ่งที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เดินทางหันมาท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์มากขึ้นนั้น ตัวกระตุ้นสำคัญที่สุดก็คงหนี ไม่พ้นทริปเดินทางของพวกเขาเอง โดยผู้เดินทาง 6 ใน 10 (ร้อยละ 60) บอกว่าทิวทัศน์แบบธรรมชาติที่งดงาม ตราตรึงใจในระหว่างทริปที่ไปมานั้นทำให้พวกเขาหันมาเดินทางอย่างยั่งยืนมากขึ้น กว่าครึ่ง (ร้อยละ 54) กล่าวว่า การได้เห็นผลกระทบจากการท่องเที่ยวที่มีต่อจุดหมายต่างๆได้กลายมาเป็นแรงผลักดันสำหรับพวกเขาในการรักษาสิ่งแวดล้อม

ปัจจัยที่จุดประกายการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

สัดส่วนของผู้เดินทางที่เห็นด้วยกับ

ปัจจัยนี้

ประทับใจกับทิวทัศน์ธรรมชาติที่ได้เห็นระหว่างทริป(เช่น แนวปะการัง ป่าฝนเขตร้อน)

60%

เห็นผลกระทบจากการท่องเที่ยวที่มีต่อจุดหมายที่พวกเขาไปเยือน

54%

เห็นสิ่งดี ๆ ที่เกิดจากการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนต่อผู้คนในท้องถิ่น

47%

เห็นผลกระทบจากการท่องเที่ยวโดยไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมในประเทศบ้านเกิดของตน

42%

รู้สึกผิดกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากทริปของตน

32%

เอาชนะอุปสรรคที่ขัดขวางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

เราอาจคิดว่าค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้นนั้นเป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับผู้เดินทางที่ต้องการท่องเที่ยวแบบเป็นมิตรต่อสิ่งแวด

ล้อม แต่ที่จริงแล้วผู้เดินทาง 2 ใน 3 (ร้อยละ 67) กลับเต็มใจที่จะจ่ายเงินเพิ่มอีกอย่างน้อยร้อยละ 5 เพื่อให้มั่นใจว่า ทริปของพวกเขาจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยผู้เดินทางชาวอินเดียถือเป็นกลุ่มที่แสดงความเต็มใจมากที่สุด (เกือบ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 32) กล่าวว่าพวกเขายอมจ่ายเพิ่มอีกร้อยละ 15 หรือมากกว่านั้น) ตามด้วยชาวบราซิล (ร้อยละ 21) และชาวจีน (ร้อยละ 18)

นอกจากนี้ งานวิจัยยังชี้ว่าการขาดข้อมูลและใบรับรองที่น่าเชื่อถือนั้นเป็นอุปสรรคสำคัญอีกประการหนึ่งสำหรับการ ตัดสินใจท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (ร้อยละ 32) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศอินเดีย จีน และญี่ปุ่น ซึ่งผู้เดินทางมองว่า เรื่องนี้เป็นอุปสรรคยิ่งกว่าค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้นเสียอีก

อุปสรรคสำคัญต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทั่วโลก

ค่าใช้จ่าย - ผู้เดินทางไม่สามารถจัดการค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นได้

42%

การขาดข้อมูลที่จำเป็น/เอกสารรับรอง - ผู้เดินทางจึงไม่รู้ว่าจะทำให้ทริปเดินทางเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร

32%

เวลา - การเดินทางในแบบอนุรักษ์นั้นใช้เวลามากเกินไป

22%

จุดหมาย - การเดินทางเชิงอนุรักษ์มักจำกัดเพียงในกลุ่มจุดหมายที่ไม่ค่อยน่าสนใจเท่าไรนัก

22%

ความหรูหรา / สะดวกสบาย - การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์มักไม่หรูหรา / สะดวกสบายเท่าการท่องเที่ยวแบบที่คุ้นเคย

20%

ยิ่งต้องการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนมากขึ้นเท่าไร ผู้เดินทางก็จะยิ่งมองหาวิธีที่สะดวกง่ายดายที่จะตอบโจทย์ความ ต้องการนี้ โดยร้อยละ 40 กล่าวว่าการใช้งานเว็บไซต์ที่มีตัวเลือกเกณฑ์ค้นหาที่พักซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนั้น ก็ถือเป็นวิธีหนึ่ง ส่วนอีกร้อยละ 32 ต้องการให้มีมาตรฐานระดับนานาชาติสำหรับที่พักที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เนื่องจากการพัฒนาเพื่อมองหาแนวทางใหม่ ๆ ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนและแบ่งปันความรู้ดังกล่าวกับ ที่พักคู่ค้าถือเป็นส่วนหนึ่งของพันธกิจของ Booking.com เราจึงได้จับมือกับ Green Key องค์กรระหว่างประเทศ ที่มอบรางวัลด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งมีเกณฑ์การให้รางวัลที่เข้มงวด โดยที่พัก ที่ได้รับรางวัลจะได้รับการแนะนำว่า “เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” บนเว็บไซต์ของเรา

เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนั้นเป็นเรื่องดี

ผู้เดินทางจำนวนมากจากทั่วโลกพิสูจน์แล้วว่าการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์นั้นไม่จำเป็นต้องลำบากเสมอไป โดยพวกเขา บอกเหตุผลที่เลือกท่องเที่ยวแบบเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมว่าเป็นเพราะกิจกรรมเหล่านี้ทำให้พวกเขาได้รับประสบการณ์

การเดินทางที่ดียิ่งขึ้น

กิจกรรมแนวอนุรักษ์ที่ช่วยเพิ่มความเพลิดเพลินให้กับทริป

สัดส่วนของผู้เดินทางที่ทำกิจกรรมนี้

ซื้อสินค้าที่ทำในท้องถิ่นแทนที่จะซื้อของฝากทั่วๆไป ที่ผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก

53%

กล้าออกสำรวจและใช้บริการขนส่งสาธารณะแทนการใช้แท็กซี่

52%

ออกสำรวจร้านอาหารในท้องถิ่นที่ใช้วัตถุดิบภายในท้องถิ่น

41%

เลือกไปสถานที่ท่องเที่ยวที่ไม่จอแจและมีทิวทัศน์สวยงาม แทนที่จะไปสถานที่ท่องเที่ยวที่อยู่ในกระแส

40%

เลือกที่พักแปลกใหม่ซึ่งได้รับการรับรองว่าเป็นที่พักเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แทนที่จะพักในโรงแรมแบบเดิม ๆ

30%

“เนื่องจากมีผู้เดินทางจำนวนเพิ่มขึ้นที่ต้องการออกสำรวจและท่องโลกในแบบอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เราจึงมองหาวิธีใหม่ ๆ อยู่เสมอที่จะช่วยให้พวกเขาสัมผัสประสบการณ์ดังกล่าวได้ง่ายดายยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การแนะนำที่พักที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือการที่ผู้เดินทางสามารถใช้เกณฑ์ค้นหาบน Booking.com โดยอิงจาก ระยะทางจากสถานีสำหรับชาร์จไฟพาหนะอิเล็กทรอนิกส์ที่ใกล้ที่สุด” เปแปน แรฟเวอร์ส รองประธานอาวุโสและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด Booking.com กล่าว “การเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิภาพจะเกิดขึ้นได้ก็เพราะ ความร่วมมือจากทุกคนในแวดวงการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และนี่คือเหตุผลที่เราต้องการนำแนวคิดเชิงอนุรักษ์นี้มาใช้ในแวดวงการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมผ่านแคมเปญ Booking Booster เพื่อมอบทุนและสนับสนุนบริษัท สตาร์ทอัพที่โดดเด่นและผู้ที่พร้อมสร้างความเปลี่ยนแปลงในจุดหมายนั้นๆ งานวิจัยวันนี้ได้พิสูจน์แล้วว่าการท่องเที่ยว เชิงอนุรักษ์นั้นเป็นสิ่งที่เราทุกคนทำได้ ซึ่งนับเป็นเรื่องดี เพราะหากเราร่วมมือกันย่อมสามารถสร้างผลเชิงบวก ให้อนาคตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมยิ่งขึ้น”